วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความเข้าใจเกี่ยวกับ “เทคโนโลยีทางการศึกษา”

ความหมาย
Techno มาจากภาษากรีกว่า Technologia หมายถึง ศิลปะ วิทยาศาสตร์ หรือทักษะ(art science or skill) และมาจากภาษาลาตินว่า Texere หมายถึงการสานหรือการสร้าง (กิดานันท์ มลิทอง, 2540)
หรือ Techno (วิธีการ) + logy (วิทยา) = ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการ
คำว่าเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) มีนักวิชาการให้คำนิยามของคำว่า ไว้แตกต่างกันหลายมิติ ดังนี้
Edgar Dale (1969) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี มิใช่เครื่องมือ เครื่องยนต์กลไกต่างๆ แต่เป็นแผนงาน วิธีการทำงานอย่างมีระบบ ที่ทำให้งานนั้นบรรลุตามแผนงานที่วางไว้
Carter V.Good (1973) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษาหมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดนเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชามีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ
Gane and Briggs (1974) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา พัฒนาจากการออกแบบการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมศาสตร์ ทฤษฎีการเรียนรู้ เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ และความสนใจในเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (Association for Educational Communications and Technology: AECT) (1977) ได้ให้คำนิยามไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ซับซ้อน เป็นกระบวนการบูรณาการที่เกี่ยวกับมนุษย์ วิธีดำเนินการ แนวคิด เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดวิธีการนำไปใช้ การประเมินและการจัดแนวทางการแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งมวลของมนุษย์
วิจิตร ศรีสอ้าน (2517,หน้า 120 – 121) กล่าวว่าเทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการแนวความคิด อุปกรณ์ และเครื่องมือใหม่ ๆมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษา ซึ่งครอบคลุม 3 ด้าน คือ การนำเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้ การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่ และการใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ ๆ
ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน
สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534, หน้า 16) ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า เป็นการนำเอาความรู้ทางศาสตร์สาขาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้เกิดเป็นระบบที่ดีซึ่งสามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาแนวคิด เทคนิค วิธีการ วัสดุ อุปกรณ์ การจัดระบบสารสนเทศ และสิ่งต่าง ๆ มาใช้ในการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งในและนอกห้องเรียน
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2545) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือการศึกษา เป็นเรื่องของระบบในการประยุกต์เอาเทคนิควิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน
จากพจนานุกรมศัพท์ทางการศึกษาได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่าเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและประสานสัมพันธ์อย่างมีบูรณาการ ระหว่างบุคคล วิธีการ เครื่องมือ และการจัดระบบองค์การสำหรับวิเคราะห์ปัญหา วิธีแก้ปัญหา ดำเนินการประเมินผล และการจัดการแก้ปัญหาเหล่านั้น ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทุกลักษณะของการเรียนรู้ (สุวิทย์ และคณะ, 2540)
จากความหมายของการเทคโนโลยีการศึกษา กล่าว หากจะสกัดคำสำคัญ (Key Word) ออกมาจะได้คำสำคัญ ดังแสดงเป็นตารางต่อไปนี้



จากตาราง จะได้ 4 กลุ่มคำดังนี้
1. วิธีการ(Method) หมายถึง วิธีการการออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ การจัดการ และการประเมิน
2. ศาสตร์ (Science) หมายถึง ศาสตร์ทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
3. สื่อการสอน (Instructional media) หมายถึง สื่อการสอน ตลอดจนทัพสัมภาระ
4. ปัญหาทางการศึกษา (Learning need) หมายถึง ปัญหาและความต้องการพัฒนาของการศึกษา
5. ประสิทธิภาพสูงสุด (Maximize effective ) หมายถึง ผลสำเร็จจากการปฏิบัติงานตามเป้าหมาย
โดยลงทุนน้อยที่สุด


จากการศึกษาเกี่ยวกับความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา สรุปได้ว่า
เทคโนโลยีการศึกษาเป็นวิธีการ(Method) นำความรู้จากหลายศาสตร์ (Science) รวมถึงสื่อการสอน (Instruction media) มาใช้ในการแก้ปัญหาทางการศึกษา (Learning need) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (Maximize effective )


แนวคิดเกี่ยวกับ “เทคโนโลยีทางการศึกษา”
นิยามของเทคโนโลยีทางการศึกษามีจุดเริ่มต้นจาก สอง แนวความคิด ดังนี้ (ชัยยงค์, 2545 : 12-13)
1. แนวคิดเน้นสื่อ (สื่อ+อุปกรณ์) คือ สื่อการสอนเป็นแนวคิดที่นำผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ที่มีทั้งวัสดุสิ้นเปลือง (Software) และอุปกรณ์ที่คงทนถาวร(Hardware) แนวคิดนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเน้นสื่อถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของครู นักเรียนซึ่งถือได้ว่าเป็นตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science Concept) ตัวอย่างของสิ่งที่เกิดขึ้น อาทิเช่น เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ เครื่องรับโทรทัศน์ ภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์ และรายการอื่นๆ ที่อยู่ในรูปของอุปกรณ์ (Hardware) และวัสดุ (Software) แนวคิดนี้ถือว่าเป็น Technology in Education
2. แนวคิดเน้นวิธีการ (สื่อ+อุปกรณ์ + วิธีการ) เป็นแนวคิดที่ประยุกต์หลักการทางจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษย์วิทยา และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ เน้นวิธีการจัดระบบ (System Approach) ที่ใช้ในการออกแบบ การวางแผน ดำเนินการตามแผน และประเมินกระบวนการทั้งหมดของการเรียนการสอน ภายใต้วัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ด้วยการใช้ผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ การสื่อสาร เป็นพื้นฐานการดำเนินงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นตามแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) แนวคิดนี้ถือว่าเป็น Technology of Education
จากแนวคิดทั้งสองแนวคิดข้างต้นคนส่วนใหญ่ยังมองเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science Concept) กล่าวคือ เทคโนโลยีทางการศึกษา ยังมีภาพลักษณ์ของโสตทัศนศึกษา (Audio Visual Education) อยู่มาก โดยอยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่าธรรมชาติของเทคโนโลยีการศึกษา เน้นหนักเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ ตลอดจนการนำผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวดังกล่าวถือเป็นความเข้าใจที่ยังไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะธรรมชาติของเทคโนโลยีการศึกษา อีกมิติหนึ่งคือ เทคโนโลยีระบบที่เน้นเกี่ยวกับ การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการและการประเมิน ซึ่งเป็นการนำวิธีระบบมาใช้เพื่อแก้ปัญหา หรือจัดสภาพการณ์ทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย
_________________________________________________________________________
เอกสารอ้างอิง

กิดานันท มลิทอง. 2540. เทคโนโลยีการศึกษา และนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2545. มิติที่ 3 ทางการศึกษา : สานฝันสู่ความเป็นจริง. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์ บ.เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
_______________. 2533. แนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา. เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและ
สื่อสารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เปรื่อง กุมุท. 2537. แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสอน. ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อ
สารการสอน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมบูรณ์ สงวนญาติ เทคโนโลยีการสอน หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู 2534
Gagene, R.M.1985. The Conditions of Learning and theory of Instruciton (4 th ed.). New York:
Holt, Rinehart & Winston, 1985.
Good, C 1973. Dictionary of Education. (3 rd ed.) New York: McGraw – Hill Book Company.
“What is the history of the field ?”. AECT. Avalable : http://www.aect.org/standards/history.html.
June 5, 2004.
Saettler,L.Paul. 1990. The Evolution of American Educational Technology. Colorado: Libraries
Unlimited, INC.

22 ความคิดเห็น:

  1. https://sites.google.com/site/53540124pms/

    กวิสรา ศรเจริญ 53540124 เรียนวันเสาร์-อาทิตย์ ค่ะ

    ตอบลบ
  2. http://wannapornj.blogspot.com/2011/05/offline.html
    วรรณพร จำเริญ 53540129 เรียนวัน เสาร์ - อาทิตย์ คะ

    ตอบลบ
  3. http://kwang53540158.blogspot.com/

    อมรรัตน์ ญาติเจริญ 53540158 เรียนวันเสาร์-อาทิตย์ ค่ะ

    ตอบลบ
  4. วิไลพร แซ่ลี้ 53540135 เรียนวันเสาร์-อาทิตย์ ค่ะ
    http://vilaiporn135.blogspot.com/

    ตอบลบ
  5. https://sites.google.com/site/53540155pmp/
    นาย อนุชา ธนพงศ์นุโรจน์ 53540155
    ส่งงานครับ
    เรียน วันเสาร์ และ อาทิตย์

    ตอบลบ
  6. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  7. น.ส รัชฎาภรณ์ พรรณา
    รหัส 53540127
    เรียนเสาร์-อาทิตย์

    http://ratchadaporn-panna.blogspot.com/2011/05/blog-post_1983.html

    ตอบลบ
  8. https://sites.google.com/site/53540134warunee/
    น.ส.วารุณี จรูญเพ็ญ 53540134
    เรียนวันเสาร์-อาทิตย์

    ตอบลบ
  9. http://pim53540122.blogspot.com/
    น.ส.พิมพิลา ตาทอง 53540122
    เรียนวันเสาร์-อาทิตย์

    ตอบลบ
  10. https://sites.google.com/site/53540151pmp/
    ส่งงานครับ
    รหัส 53540151 นาย สุระพัฒน์ เกิดลาภ
    สาขา เทคโนโลยีการศึกษา เรียน เสาร์-อาทิตย์ ครับ

    ตอบลบ
  11. http://phawita53540123.blogspot.com/
    น.ส.ภวิตา คำชื้น
    53540123
    เสาร์-อาทิตย์

    ตอบลบ
  12. http://jiraporn53540097.blogspot.com/
    น.ส.จิราภรณ์ รัตนบัลลัง รหัส 53540097
    เรียนวันเสาร์-อาทิตย์

    ตอบลบ
  13. นางสาวประภาพร แจ้งอ่างหิน
    รหัส 53540117เรียน เสาร์ - อาทิตย์
    http://antmod-mod.blogspot.com/2011_05_01_archive.html

    ตอบลบ
  14. http://arunee53540161.blogspot.com/
    น.ส.อรุณี อาระยะสันติสุข 53540161
    เรียนเสาร์-อาทิตย์

    ตอบลบ
  15. http://beawjukku.blogspot.com/
    ลลิตา ครามสายออ 53540128
    เรียน เสาร์-อาทิตย์

    ตอบลบ
  16. http://teachnology-maymininja.blogspot.com/

    น.ส.สุสัดดา แก่นศรีใจ 53540152

    ตอบลบ
  17. http://53540144.blogspot.com/2011_05_01_archive.html
    นายสันติ สุลัยมาร รหัส 53540144
    เรียน วันเสาร์ - อาทิตย์

    ตอบลบ
  18. http://kookkai-buu.blogspot.com/
    นางสาว วริศรา พิทักษ์พล
    รหัส 53540131 เสาร์-อาทิตย์

    ตอบลบ
  19. http://menada-chanidapa.blogspot.com
    นางสาว ชนิดาภา ธนินพงศา
    รหัส 53540100 เรียนเสาร์-อาทิตย์

    ตอบลบ
  20. http://52540391.blogspot.com/

    น.ส.กอรปกาญจน์ สิงห์สมดี 52540391

    ตอบลบ
  21. http://kohchang99.blogspot.com/
    นาย วรสิทธิ์ ทวีพงศ์พันธุ์ 53540130
    เรียน เสาร์-อาทิตย์

    ตอบลบ