วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความเข้าใจเกี่ยวกับ “ความหมายของการวิจัย”

ความหมายของการวิจัย คำว่า การวิจัย มาจากคำว่า Research มีรากศัพท์มาจาก Re + Search Re แปลว่า ซ้ำ Search แปลว่า ค้น ดังนั้น Research แปลว่า ค้นคว้าซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งน่าจะหมายถึง การค้นหาความรู้ความจริง ค้นแล้วค้นอีก ซึ่งจะทำให้ได้รับรู้ความรู้ความจริงที่น่าเชื่อถือ ถูกต้อง เพราะมีข้อมูลที่เพียงพอต่อการสรุปเป็นความรู้ความจริงนั้น ๆ นอกจากนี้นักจิตวิทยาด้านการวิจัย ออกแบบแนวคิดอธิบายค่า “Research” โดยแยกเป็นอักษรที่มาจากความหมายจากที่ประชุม Pan Pacific Socience Congress ในปี ค.ศ. 1961 ณ. สหรัฐอเมริกา ได้แยกอธิบายความหมายไว้ดังนี้ R = ecruitment & Relationship หมายถึง การฝึกตนให้มีความรู้ รวมทั้งรวบรวมผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงานรวมกัน ติดต่อสัมพันธ์และประสนงานกัน E = Education & Efficency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีกาศึกษา มีความรู้และสมรรถภาพสูงในการวิจัย S = Sciences & Stimulation หมายถึง เป็นศาสตร์ที่ต้องมีการพิสูจน์ค้นคว้า เพื่อหาความจริง และผู้วิจัยต้องมีความกระตุ้นในด้านความคิดริเริ่ม กระตือรือร้นที่จะทำวิจัย E = Evaluation & Enviroment หมายถึง รู้จักประเมินผลว่ามีประโยชน์สมควรจะทำต่อไปหรือไม่ แบละต้องรู้จักใช้เครื่องมือต่างๆในการวิจัย A = Aim & Attitude หมายถึง มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่แน่นอน และมีทัศนคติที่ดีต่อการติดตามผลการวิจัย R = Result หมายถึง หลการวิจัยที่ได้มาเป็นผลอย่างไรก็ตามจะต้องยอมรับผลการวิจัยนั้นอย่างดุษฎี และเป็นผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบ C = Curiosity หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีความรู้อยากรู้อยากเห็น มีความสนใจและขวนขวายในการวิจัยอยู่ตลอดเวลา H = Horizon หมายถึงว่า เมื่อผลการวิจัยปรากฏออกมาแล้วย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้นได้เหมือนกับการเกิดแสงสว่างขึ้น แต่ถ้ายังไม่เกิดแสงสว่าง ผู้วิจัยจะต้องดำเรนอนต่อไป จนกว่าจะพบแสงสว่าง ในทางสังคมแสงสว่างหมายถึง ผลการวิจัยก่อให้เกิดสุขแก่สังคม (อารมณ์ สนานภู่ : 2545.) การวิจัย หมายถึง การค้นคว้าหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนวนตามหลักวิชา(ราชบัณฑิตยสถาน,2531 (research) หน้าที่ 754) การวิจัย หมายถึง เทคนิคและวิธีการในการเสาะแสวงหา การสืบสวนสอบสวนเพื่อค้นหาความรู้ ความจริงอย่างมีระบบระเบียบแบบแผน ด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ โดยให้สอดคล้องกับธรรมชาติและเงื่อนไขของปัญหา ซึ่งทำให้เกิดความกระจ่างชัดในปัญหาหรือเกิดข้อสรุปใหม่ - การไต่สวนสืบค้น ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบ มีการควบคุม มีการสังเกตุเหตุการณ์จริงและมีการวิพากษ์วิจารณ์ โดยมีทฤษฎีสมมุติฐานเป็นแนวทางค้นหาความสำคัญระหว่างปรากฎการณ์นั้น - การค้นคว้าหาความรู้ ความจริงที่เชื่อถือได้ โดยวิธีการที่มีระบบแผนที่เชื่อถือได้ เพื่อนำความรู้ที่ได้นั้นไปสร้างกเกณฑ์ทฤษฎีต่างๆเพื่อไว้ใช้ในการอ้างอิง อธิบายปรากฏการเฉพาะเรื่อง และปรากฏการณ์ทั่วๆไป และเป็นผลทำให้สามารถทำนายและควบคุมการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆได้ - กระบวนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง หรือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบ ระเบียบแบแผน และจุดมุ่งหมายที่แน่นอน เพื่อให้ความรู้ที่เชื่อถือได้ - กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาที่มีอยุ่อย่างมีระบบและวัตถุประสงค์แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (อารมณ์ สนานภู่ : 2545) การวิจัยคือ 1. การค้นคว้าหาความจริง 2. การค้นหาสิ่งที่ต้องการ สิ่งที้เป็นประโยชน์ 3. การค้นหาหรือวิธีการที่จะให้มันดีและ 4. การค้นหาวิธีที่จะทำให้สำเร็จ (พระธรรมปิฎก 2541 : 5-6) การวิจัยคือ กระบวนการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณืธรรมชาติตามสมมุติฐาน ที่นรภัยจากทษฎีโดยใช้ระเบียบวิธีการวิยาศาสตร์ที่เป็นระบบ มีการใช้เครื่องมเชิงประจักย์ มีการควบคุม และมีขั้นตอนดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอน โดยแต่ล่ะชั้นตอนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันนำไปสู่คำตอบปัญาการสิจัย ผลการวิจัยที่ได้เป็นความรู้ใหม่เป็นผลของการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต้อและมนุษย์และสังคม (นงลักษณ์ วิรัชชัย,2541: 2538 : 1) การวิจัย เป็นกิจกรรม ในการแก้ปัยหาซึ่งนำไปสู่ความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีการสืบสวนหรือตรวจสอบซึ่งเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น (เฮล์มสแทคเตอร์) การวิจัย เป็น กระบวนการที่เป็นระบบ เป็นพิธีการและการวิเคราะห์อย่างกว้างขวางด้วยวิธีการทางวิทยศาสตร์ การวิจัยเป็นกิจกรรมที่เป็นระบบที่นำไปสุ่การค้นพบและพัฒนาความรู้ใหม่ (เบสท์) การวิจัย เป็นการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้เพื่อศึกษาปัญหา โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาคำตอบของปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (แอรีและคณะ) การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นการเสาะแสวงหาอย่างเป็นระบบโดยการควบคุมในเชิงประจักษ์ และด้วยการวิเคราะห์เพื่อหาข้อเท็จจริงที่เป็นความสัมพันธ์ในปรากฏการณ์ธรรมชาติ (เคอร์ลิงเจอร์) การวิจัย เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ ความจริง โดยอาศัยวิธีที่เชื่อถือได้ (สมเจตน์ ไวทยากรณ์.2544.) การวิจัย มีความหมาย เป็นกระบวนการค้นคว้า หาข้อเท็จจริงหรือค้นคว้าหาปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างมีระบบระเบียบ และมีจุดหมายที่แน่นอน เพื่อให้ได้ความรู้ที่เชื่อถือได้ (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.2546.) การวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการจะศึกษา มีการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล การวิเคราะห์และการตีความหมายจาการวิเคราะห์ เพื่อให้ได้มาคำตอบที่ถูกต้อง (สุชาติ ประสิทธิรัฐสินธุ์.2540.) จากความหมายของการวิจัยดังกล่าว หากจะสกัดคำสำคัญ (Key Word) ออกมาจะได้คำสำคัญ ดังแสดงเป็นตารางต่อไปนี้นี้



   


 จากตาราง จะได้ 4 กลุ่มคำดังนี้ 1. การหาความจริง หรือ อภิปรัชญา (Metaphysics) หมายถึง ความจริงสูงสุดของทุกสิ่ง 2. การเกิดความรู้ หรือ ญาณวิทยา (Epistemology) หมายถึง ทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องความรู้เกิดจากสิ่งใด กล่าวคือกระบวนการหาความรู้ ซึ่งเกิดขึ้นในตัวมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. ความรู้ที่เกิดจากความคิดเริ่มแรก ความรู้ประเภทนี้เกิดขึ้น เพราะว่าถึงแม้จะมีสัญชาน หรือ สัมผัสทั้ง 5 อันได้แก่ ตา หู จมูก ปาก และผิวกาย 2.ความรู้ที่เกิดจากความคิดพื้นฐาน คือ ความรู้ที่เกิดจากความคิด และมีสัญชานหรือ สัมผัสทั้ง 5 อันได้แก่ ตา หู จมูก ปาก และผิวกาย เป็นตัวเสริมหรือเป็นตัววิเคราะห์ว่าเป็นความรู้อันแท้จริงรึเปล่า เมื่อความคิดเกิดข้อสงสัยขึ้น ก็จะเกิดการค้นหาคำตอบว่าข้อสงสัยนี้เป็นจริงหรือไม่ โดยผ่านการวิเคราะห์และเสริมของสัญชาน หรือ สัมผัสทั้ง 5 3. วิธีการหรือระเบียบวิธี (Methodology) คือแบบแผนของการหาความรู้ ความจริงที่เชื่อถือได้ 4. ผลของกระบวนการ หรือ จุดมุ่งหมายของการวิจัย (Aim) คือการผลลัพธ์จากกระบวนการวิจัย เพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ทำให้ค้นพบกฎหรือทฤษฎี ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ จากการศึกษาเกี่ยวกับความหมายของการวิจัย สรุปได้ว่า การวิจัย หมายถึง กระบวนการ(Epistemology) หาความจริง(Metaphysics) ตามจุดมุ่งหมาย (Aim) ด้วยระเบียบวิธี (Methodology) ที่เชื่อถือได้ ___________________________________________________________________ เอกสารอ้างอิง กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546) . การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. กานดา พูนลาภทวี. (2530) . สถิติเพื่อการวิจัย . ฟิสิกส์เซนเตอร์การพิมพ์. กรุงเทพฯ . จักรกฤษณ์ สำราญใจ. (2545) . การวิจัยพื้นฐาน . สถาบันราขชภัฎลำปาง. โรงพิมพ์จันทร์สมุทร. กรุงเทพฯ. จรัส สุวรรณเวลา. (2530) . หัวใจของการวิจัยอยู่ที่ใด . วารสารวิธีวิทยาการวิจัย ภาควิชาการวิจัยศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . กรุงเทพฯ. ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2544). วิจัยคืออะไร. วันที่ค้นข้อมูล 14 มิถุนายน 2553, เข้าถึงได้จาก http://www.watpon.com/Elearning/res1.htm ชินวุธ สุนทรสีมะ. (2522) . หลักและวิธีการทำวิทยานิพนธ์ . รายงานประจำภาคและเอกสารวิจัย. ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ. นกนา ยคร . (2551). อภิปรัชญา. วันที่ค้นข้อมูล 14 มิถุนายน 2553, เข้าถึงได้จาก http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/2545/nong/cognitivism.html. นที เทียมศรีจันทร์. (2543) . การพัฒนาคุณภาพงานวิจัยสายศิลปกรรม .เอกสารประกอบคำ บรรยายการประชุมสัมนาเชิงปฏิบัติการ. 8-10 นวาคม 2543. ชลพฤกษ์ รีสอร์ท จังหวัดนครนายก. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง. นิภา ศรีไพโรจน์. (2544). จุดมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัย. วันที่ค้นข้อมูล 14 มิถุนายน 2553, เข้าถึงได้จาก http://www.watpon.com/Elearning/res6.htm บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2546) . การเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์. จามจุรีโปรดักท์. กรุงเทพฯ. พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์ (และคณะ).ปรัชญาการศึกษา EF703 (603).กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วัญญา วิศาลาภรณ์. ผ2540) . การวิจัยทางการศึกษา : หลักและแนวทางปฏิบัติการ. ต้นอ้อแกรมมี่. กรุงเทพฯ. ศิริรัตน์ วีรชาติยานุกูล. (2545) . ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติและการวิจัย . มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ. สมเจตน์ ไวทยาการณ์ .(2544) .หลักและการวิจัย . โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม. สุชาติ ประสิทธิรัฐสินธุ์ . (2540) สุรางค์ จันทวานิช. (2546) . วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ . สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. อดิภพ จักรภาคกุล. (2546) .วิจัยในงานวิชาการ . โรงพิมพ์โอเดี่ยนสโตร์. กรุงเทพฯ. อารมณ์ สนานภู่. (2545) . ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานวิจัย. ราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : หน้า 9 – 24

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น