วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความเข้าใจเกี่ยวกับ “เทคโนโลยีทางการศึกษา”

ความหมาย
Techno มาจากภาษากรีกว่า Technologia หมายถึง ศิลปะ วิทยาศาสตร์ หรือทักษะ(art science or skill) และมาจากภาษาลาตินว่า Texere หมายถึงการสานหรือการสร้าง (กิดานันท์ มลิทอง, 2540)
หรือ Techno (วิธีการ) + logy (วิทยา) = ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการ
คำว่าเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) มีนักวิชาการให้คำนิยามของคำว่า ไว้แตกต่างกันหลายมิติ ดังนี้
Edgar Dale (1969) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี มิใช่เครื่องมือ เครื่องยนต์กลไกต่างๆ แต่เป็นแผนงาน วิธีการทำงานอย่างมีระบบ ที่ทำให้งานนั้นบรรลุตามแผนงานที่วางไว้
Carter V.Good (1973) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษาหมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดนเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชามีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ
Gane and Briggs (1974) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา พัฒนาจากการออกแบบการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมศาสตร์ ทฤษฎีการเรียนรู้ เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ และความสนใจในเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (Association for Educational Communications and Technology: AECT) (1977) ได้ให้คำนิยามไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ซับซ้อน เป็นกระบวนการบูรณาการที่เกี่ยวกับมนุษย์ วิธีดำเนินการ แนวคิด เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดวิธีการนำไปใช้ การประเมินและการจัดแนวทางการแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งมวลของมนุษย์
วิจิตร ศรีสอ้าน (2517,หน้า 120 – 121) กล่าวว่าเทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการแนวความคิด อุปกรณ์ และเครื่องมือใหม่ ๆมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษา ซึ่งครอบคลุม 3 ด้าน คือ การนำเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้ การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่ และการใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ ๆ
ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน
สมบูรณ์ สงวนญาติ (2534, หน้า 16) ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า เป็นการนำเอาความรู้ทางศาสตร์สาขาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้เกิดเป็นระบบที่ดีซึ่งสามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาแนวคิด เทคนิค วิธีการ วัสดุ อุปกรณ์ การจัดระบบสารสนเทศ และสิ่งต่าง ๆ มาใช้ในการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งในและนอกห้องเรียน
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2545) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือการศึกษา เป็นเรื่องของระบบในการประยุกต์เอาเทคนิควิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน
จากพจนานุกรมศัพท์ทางการศึกษาได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่าเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและประสานสัมพันธ์อย่างมีบูรณาการ ระหว่างบุคคล วิธีการ เครื่องมือ และการจัดระบบองค์การสำหรับวิเคราะห์ปัญหา วิธีแก้ปัญหา ดำเนินการประเมินผล และการจัดการแก้ปัญหาเหล่านั้น ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทุกลักษณะของการเรียนรู้ (สุวิทย์ และคณะ, 2540)
จากความหมายของการเทคโนโลยีการศึกษา กล่าว หากจะสกัดคำสำคัญ (Key Word) ออกมาจะได้คำสำคัญ ดังแสดงเป็นตารางต่อไปนี้



จากตาราง จะได้ 4 กลุ่มคำดังนี้
1. วิธีการ(Method) หมายถึง วิธีการการออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ การจัดการ และการประเมิน
2. ศาสตร์ (Science) หมายถึง ศาสตร์ทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
3. สื่อการสอน (Instructional media) หมายถึง สื่อการสอน ตลอดจนทัพสัมภาระ
4. ปัญหาทางการศึกษา (Learning need) หมายถึง ปัญหาและความต้องการพัฒนาของการศึกษา
5. ประสิทธิภาพสูงสุด (Maximize effective ) หมายถึง ผลสำเร็จจากการปฏิบัติงานตามเป้าหมาย
โดยลงทุนน้อยที่สุด


จากการศึกษาเกี่ยวกับความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา สรุปได้ว่า
เทคโนโลยีการศึกษาเป็นวิธีการ(Method) นำความรู้จากหลายศาสตร์ (Science) รวมถึงสื่อการสอน (Instruction media) มาใช้ในการแก้ปัญหาทางการศึกษา (Learning need) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (Maximize effective )


แนวคิดเกี่ยวกับ “เทคโนโลยีทางการศึกษา”
นิยามของเทคโนโลยีทางการศึกษามีจุดเริ่มต้นจาก สอง แนวความคิด ดังนี้ (ชัยยงค์, 2545 : 12-13)
1. แนวคิดเน้นสื่อ (สื่อ+อุปกรณ์) คือ สื่อการสอนเป็นแนวคิดที่นำผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ที่มีทั้งวัสดุสิ้นเปลือง (Software) และอุปกรณ์ที่คงทนถาวร(Hardware) แนวคิดนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเน้นสื่อถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของครู นักเรียนซึ่งถือได้ว่าเป็นตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science Concept) ตัวอย่างของสิ่งที่เกิดขึ้น อาทิเช่น เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ เครื่องรับโทรทัศน์ ภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์ และรายการอื่นๆ ที่อยู่ในรูปของอุปกรณ์ (Hardware) และวัสดุ (Software) แนวคิดนี้ถือว่าเป็น Technology in Education
2. แนวคิดเน้นวิธีการ (สื่อ+อุปกรณ์ + วิธีการ) เป็นแนวคิดที่ประยุกต์หลักการทางจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษย์วิทยา และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ เน้นวิธีการจัดระบบ (System Approach) ที่ใช้ในการออกแบบ การวางแผน ดำเนินการตามแผน และประเมินกระบวนการทั้งหมดของการเรียนการสอน ภายใต้วัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ด้วยการใช้ผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ การสื่อสาร เป็นพื้นฐานการดำเนินงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นตามแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) แนวคิดนี้ถือว่าเป็น Technology of Education
จากแนวคิดทั้งสองแนวคิดข้างต้นคนส่วนใหญ่ยังมองเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science Concept) กล่าวคือ เทคโนโลยีทางการศึกษา ยังมีภาพลักษณ์ของโสตทัศนศึกษา (Audio Visual Education) อยู่มาก โดยอยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่าธรรมชาติของเทคโนโลยีการศึกษา เน้นหนักเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ ตลอดจนการนำผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวดังกล่าวถือเป็นความเข้าใจที่ยังไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะธรรมชาติของเทคโนโลยีการศึกษา อีกมิติหนึ่งคือ เทคโนโลยีระบบที่เน้นเกี่ยวกับ การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการและการประเมิน ซึ่งเป็นการนำวิธีระบบมาใช้เพื่อแก้ปัญหา หรือจัดสภาพการณ์ทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย
_________________________________________________________________________
เอกสารอ้างอิง

กิดานันท มลิทอง. 2540. เทคโนโลยีการศึกษา และนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2545. มิติที่ 3 ทางการศึกษา : สานฝันสู่ความเป็นจริง. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์ บ.เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
_______________. 2533. แนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา. เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและ
สื่อสารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เปรื่อง กุมุท. 2537. แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสอน. ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อ
สารการสอน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมบูรณ์ สงวนญาติ เทคโนโลยีการสอน หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู 2534
Gagene, R.M.1985. The Conditions of Learning and theory of Instruciton (4 th ed.). New York:
Holt, Rinehart & Winston, 1985.
Good, C 1973. Dictionary of Education. (3 rd ed.) New York: McGraw – Hill Book Company.
“What is the history of the field ?”. AECT. Avalable : http://www.aect.org/standards/history.html.
June 5, 2004.
Saettler,L.Paul. 1990. The Evolution of American Educational Technology. Colorado: Libraries
Unlimited, INC.

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความเข้าใจเกี่ยวกับ “ความหมายของการวิจัย”

ความหมายของการวิจัย คำว่า การวิจัย มาจากคำว่า Research มีรากศัพท์มาจาก Re + Search Re แปลว่า ซ้ำ Search แปลว่า ค้น ดังนั้น Research แปลว่า ค้นคว้าซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งน่าจะหมายถึง การค้นหาความรู้ความจริง ค้นแล้วค้นอีก ซึ่งจะทำให้ได้รับรู้ความรู้ความจริงที่น่าเชื่อถือ ถูกต้อง เพราะมีข้อมูลที่เพียงพอต่อการสรุปเป็นความรู้ความจริงนั้น ๆ นอกจากนี้นักจิตวิทยาด้านการวิจัย ออกแบบแนวคิดอธิบายค่า “Research” โดยแยกเป็นอักษรที่มาจากความหมายจากที่ประชุม Pan Pacific Socience Congress ในปี ค.ศ. 1961 ณ. สหรัฐอเมริกา ได้แยกอธิบายความหมายไว้ดังนี้ R = ecruitment & Relationship หมายถึง การฝึกตนให้มีความรู้ รวมทั้งรวบรวมผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงานรวมกัน ติดต่อสัมพันธ์และประสนงานกัน E = Education & Efficency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีกาศึกษา มีความรู้และสมรรถภาพสูงในการวิจัย S = Sciences & Stimulation หมายถึง เป็นศาสตร์ที่ต้องมีการพิสูจน์ค้นคว้า เพื่อหาความจริง และผู้วิจัยต้องมีความกระตุ้นในด้านความคิดริเริ่ม กระตือรือร้นที่จะทำวิจัย E = Evaluation & Enviroment หมายถึง รู้จักประเมินผลว่ามีประโยชน์สมควรจะทำต่อไปหรือไม่ แบละต้องรู้จักใช้เครื่องมือต่างๆในการวิจัย A = Aim & Attitude หมายถึง มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่แน่นอน และมีทัศนคติที่ดีต่อการติดตามผลการวิจัย R = Result หมายถึง หลการวิจัยที่ได้มาเป็นผลอย่างไรก็ตามจะต้องยอมรับผลการวิจัยนั้นอย่างดุษฎี และเป็นผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบ C = Curiosity หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีความรู้อยากรู้อยากเห็น มีความสนใจและขวนขวายในการวิจัยอยู่ตลอดเวลา H = Horizon หมายถึงว่า เมื่อผลการวิจัยปรากฏออกมาแล้วย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้นได้เหมือนกับการเกิดแสงสว่างขึ้น แต่ถ้ายังไม่เกิดแสงสว่าง ผู้วิจัยจะต้องดำเรนอนต่อไป จนกว่าจะพบแสงสว่าง ในทางสังคมแสงสว่างหมายถึง ผลการวิจัยก่อให้เกิดสุขแก่สังคม (อารมณ์ สนานภู่ : 2545.) การวิจัย หมายถึง การค้นคว้าหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนวนตามหลักวิชา(ราชบัณฑิตยสถาน,2531 (research) หน้าที่ 754) การวิจัย หมายถึง เทคนิคและวิธีการในการเสาะแสวงหา การสืบสวนสอบสวนเพื่อค้นหาความรู้ ความจริงอย่างมีระบบระเบียบแบบแผน ด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ โดยให้สอดคล้องกับธรรมชาติและเงื่อนไขของปัญหา ซึ่งทำให้เกิดความกระจ่างชัดในปัญหาหรือเกิดข้อสรุปใหม่ - การไต่สวนสืบค้น ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบ มีการควบคุม มีการสังเกตุเหตุการณ์จริงและมีการวิพากษ์วิจารณ์ โดยมีทฤษฎีสมมุติฐานเป็นแนวทางค้นหาความสำคัญระหว่างปรากฎการณ์นั้น - การค้นคว้าหาความรู้ ความจริงที่เชื่อถือได้ โดยวิธีการที่มีระบบแผนที่เชื่อถือได้ เพื่อนำความรู้ที่ได้นั้นไปสร้างกเกณฑ์ทฤษฎีต่างๆเพื่อไว้ใช้ในการอ้างอิง อธิบายปรากฏการเฉพาะเรื่อง และปรากฏการณ์ทั่วๆไป และเป็นผลทำให้สามารถทำนายและควบคุมการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆได้ - กระบวนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง หรือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบ ระเบียบแบแผน และจุดมุ่งหมายที่แน่นอน เพื่อให้ความรู้ที่เชื่อถือได้ - กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาที่มีอยุ่อย่างมีระบบและวัตถุประสงค์แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (อารมณ์ สนานภู่ : 2545) การวิจัยคือ 1. การค้นคว้าหาความจริง 2. การค้นหาสิ่งที่ต้องการ สิ่งที้เป็นประโยชน์ 3. การค้นหาหรือวิธีการที่จะให้มันดีและ 4. การค้นหาวิธีที่จะทำให้สำเร็จ (พระธรรมปิฎก 2541 : 5-6) การวิจัยคือ กระบวนการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณืธรรมชาติตามสมมุติฐาน ที่นรภัยจากทษฎีโดยใช้ระเบียบวิธีการวิยาศาสตร์ที่เป็นระบบ มีการใช้เครื่องมเชิงประจักย์ มีการควบคุม และมีขั้นตอนดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอน โดยแต่ล่ะชั้นตอนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันนำไปสู่คำตอบปัญาการสิจัย ผลการวิจัยที่ได้เป็นความรู้ใหม่เป็นผลของการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต้อและมนุษย์และสังคม (นงลักษณ์ วิรัชชัย,2541: 2538 : 1) การวิจัย เป็นกิจกรรม ในการแก้ปัยหาซึ่งนำไปสู่ความรู้ใหม่ โดยใช้วิธีการสืบสวนหรือตรวจสอบซึ่งเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น (เฮล์มสแทคเตอร์) การวิจัย เป็น กระบวนการที่เป็นระบบ เป็นพิธีการและการวิเคราะห์อย่างกว้างขวางด้วยวิธีการทางวิทยศาสตร์ การวิจัยเป็นกิจกรรมที่เป็นระบบที่นำไปสุ่การค้นพบและพัฒนาความรู้ใหม่ (เบสท์) การวิจัย เป็นการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้เพื่อศึกษาปัญหา โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาคำตอบของปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (แอรีและคณะ) การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นการเสาะแสวงหาอย่างเป็นระบบโดยการควบคุมในเชิงประจักษ์ และด้วยการวิเคราะห์เพื่อหาข้อเท็จจริงที่เป็นความสัมพันธ์ในปรากฏการณ์ธรรมชาติ (เคอร์ลิงเจอร์) การวิจัย เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ ความจริง โดยอาศัยวิธีที่เชื่อถือได้ (สมเจตน์ ไวทยากรณ์.2544.) การวิจัย มีความหมาย เป็นกระบวนการค้นคว้า หาข้อเท็จจริงหรือค้นคว้าหาปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างมีระบบระเบียบ และมีจุดหมายที่แน่นอน เพื่อให้ได้ความรู้ที่เชื่อถือได้ (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.2546.) การวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการจะศึกษา มีการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล การวิเคราะห์และการตีความหมายจาการวิเคราะห์ เพื่อให้ได้มาคำตอบที่ถูกต้อง (สุชาติ ประสิทธิรัฐสินธุ์.2540.) จากความหมายของการวิจัยดังกล่าว หากจะสกัดคำสำคัญ (Key Word) ออกมาจะได้คำสำคัญ ดังแสดงเป็นตารางต่อไปนี้นี้



   


 จากตาราง จะได้ 4 กลุ่มคำดังนี้ 1. การหาความจริง หรือ อภิปรัชญา (Metaphysics) หมายถึง ความจริงสูงสุดของทุกสิ่ง 2. การเกิดความรู้ หรือ ญาณวิทยา (Epistemology) หมายถึง ทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องความรู้เกิดจากสิ่งใด กล่าวคือกระบวนการหาความรู้ ซึ่งเกิดขึ้นในตัวมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. ความรู้ที่เกิดจากความคิดเริ่มแรก ความรู้ประเภทนี้เกิดขึ้น เพราะว่าถึงแม้จะมีสัญชาน หรือ สัมผัสทั้ง 5 อันได้แก่ ตา หู จมูก ปาก และผิวกาย 2.ความรู้ที่เกิดจากความคิดพื้นฐาน คือ ความรู้ที่เกิดจากความคิด และมีสัญชานหรือ สัมผัสทั้ง 5 อันได้แก่ ตา หู จมูก ปาก และผิวกาย เป็นตัวเสริมหรือเป็นตัววิเคราะห์ว่าเป็นความรู้อันแท้จริงรึเปล่า เมื่อความคิดเกิดข้อสงสัยขึ้น ก็จะเกิดการค้นหาคำตอบว่าข้อสงสัยนี้เป็นจริงหรือไม่ โดยผ่านการวิเคราะห์และเสริมของสัญชาน หรือ สัมผัสทั้ง 5 3. วิธีการหรือระเบียบวิธี (Methodology) คือแบบแผนของการหาความรู้ ความจริงที่เชื่อถือได้ 4. ผลของกระบวนการ หรือ จุดมุ่งหมายของการวิจัย (Aim) คือการผลลัพธ์จากกระบวนการวิจัย เพื่อเพิ่มพูนความรู้ใหม่ทำให้ค้นพบกฎหรือทฤษฎี ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ จากการศึกษาเกี่ยวกับความหมายของการวิจัย สรุปได้ว่า การวิจัย หมายถึง กระบวนการ(Epistemology) หาความจริง(Metaphysics) ตามจุดมุ่งหมาย (Aim) ด้วยระเบียบวิธี (Methodology) ที่เชื่อถือได้ ___________________________________________________________________ เอกสารอ้างอิง กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546) . การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. กานดา พูนลาภทวี. (2530) . สถิติเพื่อการวิจัย . ฟิสิกส์เซนเตอร์การพิมพ์. กรุงเทพฯ . จักรกฤษณ์ สำราญใจ. (2545) . การวิจัยพื้นฐาน . สถาบันราขชภัฎลำปาง. โรงพิมพ์จันทร์สมุทร. กรุงเทพฯ. จรัส สุวรรณเวลา. (2530) . หัวใจของการวิจัยอยู่ที่ใด . วารสารวิธีวิทยาการวิจัย ภาควิชาการวิจัยศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . กรุงเทพฯ. ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2544). วิจัยคืออะไร. วันที่ค้นข้อมูล 14 มิถุนายน 2553, เข้าถึงได้จาก http://www.watpon.com/Elearning/res1.htm ชินวุธ สุนทรสีมะ. (2522) . หลักและวิธีการทำวิทยานิพนธ์ . รายงานประจำภาคและเอกสารวิจัย. ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ. นกนา ยคร . (2551). อภิปรัชญา. วันที่ค้นข้อมูล 14 มิถุนายน 2553, เข้าถึงได้จาก http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/2545/nong/cognitivism.html. นที เทียมศรีจันทร์. (2543) . การพัฒนาคุณภาพงานวิจัยสายศิลปกรรม .เอกสารประกอบคำ บรรยายการประชุมสัมนาเชิงปฏิบัติการ. 8-10 นวาคม 2543. ชลพฤกษ์ รีสอร์ท จังหวัดนครนายก. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง. นิภา ศรีไพโรจน์. (2544). จุดมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัย. วันที่ค้นข้อมูล 14 มิถุนายน 2553, เข้าถึงได้จาก http://www.watpon.com/Elearning/res6.htm บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2546) . การเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์. จามจุรีโปรดักท์. กรุงเทพฯ. พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์ (และคณะ).ปรัชญาการศึกษา EF703 (603).กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วัญญา วิศาลาภรณ์. ผ2540) . การวิจัยทางการศึกษา : หลักและแนวทางปฏิบัติการ. ต้นอ้อแกรมมี่. กรุงเทพฯ. ศิริรัตน์ วีรชาติยานุกูล. (2545) . ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติและการวิจัย . มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ. สมเจตน์ ไวทยาการณ์ .(2544) .หลักและการวิจัย . โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม. สุชาติ ประสิทธิรัฐสินธุ์ . (2540) สุรางค์ จันทวานิช. (2546) . วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ . สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. อดิภพ จักรภาคกุล. (2546) .วิจัยในงานวิชาการ . โรงพิมพ์โอเดี่ยนสโตร์. กรุงเทพฯ. อารมณ์ สนานภู่. (2545) . ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานวิจัย. ราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : หน้า 9 – 24

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

จุดตั้งต้นของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือพัฒนาครู

จุดตั้งต้นของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือใคร?
การศึกษาถือเป็นปัจจัยสำคัญที่อารยประเทศใช้เป็นนโยบายหลักในการพัฒนาประเทศ เพราะการศึกษาสามารถพัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพทัดเทียม หรือสูงกว่านานาประเทศ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาถือเป็นประเด็นสำคัญในระดับต้นๆที่จำเป็นจะต้องดำเนินการ โดยใครสักคนหรือมากกว่านั้น หากจะตอบว่าทุกภาคส่วนล้วนสำคัญเท่าเทียบกันทั้งสิ้น ข้าพเจ้ากับมองว่าเป็นการตอบเร็วเกินไป และที่สำคัญคือคำตอบประเภทนี้ในมุมมองของข้าพเจ้าคิดว่า เป็นการตอบที่ไม่ได้คิดไตร่ตรองอย่างละเอียด จากการวิเคราะห์และเสนอแนวความความคิดจาก นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่ากลุ่มบุคคล 3 กลุ่ม เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ดังนี้
1. ครอบครัว โดยให้เหตุผลว่าครอบครัวจะต้องมีการเลี้ยงดูที่ดี เข้าใจพัฒนาการ และวางฐานการคิดให้กับคนในครอบครัว
2. ครู จะต้องมีการวิธีการสอนที่มีคุณภาพ
3. ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการศึกษา พระราชบัญญัติ แผนพัฒนาการศึกษา
จากความคิดทั้ง 3 กลุ่ม จะได้ปิรามิดพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยดังภาพ


ในสังคมไทยปัจจุบันหากจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ “ครอบครัว” สถาบันการศึกษาแห่งแรกของเด็กไทยคงไม่ผิด หากแต่ประเด็นที่น่าสังเกตคือ
1. ในกรณีที่พ่อ แม่ในยุคปัจจุบัน มุ่งแต่งาน ไม่มีเวลาให้กับบุตรหลาน
2. ในกรณีที่พ่อ แม่มีคุณวุฒิทางการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
3 .ในกรณีที่พ่อ แม่ไม่มีความรู้ทางจิตวิทยาการศึกษา หรือวิชาครู
4. ในกรณีที่พ่อ แม่ เป็นผู้สนับสนุนการกระทำของลูกทุกอย่าง ไม่ว่าดีหรือชั่ว หรือเข้าข่ายพ่อแม่รังแกฉัน
จากประเด็นดังกล่าว หากจะเริ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษา ณ ครอบครัวนี้ จำเป็นจะต้องทำให้ประชาชนที่เป็นพ่อ แม่ กินดีอยู่ดี มีเวลาให้กับครอบครัวก่อน ถึงจะสามารถดำเนินการฝึกอบรมการเลี้ยงลูก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ จึงถือเป็นเรื่องยากที่จะจัดการซึ่งจะต้องลงทุนทั้งด้านงบประมาณ บุคากร และเวลา

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย หากจะเริ่มต้นในระดับผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการศึกษา พระราชบัญญัติ แผนพัฒนาการศึกษา ถือเป็นเรื่องที่น่าจะเป็นไปได้ที่สุด ยกตัวอย่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนา และการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมือง เพื่อให้การศึกษาเป็นประโยชน์ต่อบุคคลในการพัฒนาตนเองและครอบครัว พัฒนาอาชีพและการงาน พัฒนาชุมชน ประเทศชาติ และสิ่งแวดล้อม ตลอดทั้งพัฒนาให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542, 2542) หรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10(พ.ศ. 2550 - 2554) ที่เป็นแผนปฏิรูปความคิดและคุณค่าใหม่ของสังคมไทยที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม และมุ่งให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” และใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาแบบแยกส่วนมาเป็นบูรณาการแบบองค์รวม
จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หรือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ถือว่าภาคนโยบาย หรือผู้บริหารได้กำหนดนโยบายได้อย่างชัดเจน แต่ผลลัพธ์ในปัจจุบันการศึกษาไทยยังอยู่ที่เดิม เหตุที่เป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าได้ตั้งข้อสังเกตดังนี้
1. การออกแบบแผนการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรมสำหรับภาคปฏิบัติเป็นอย่างไร
2. ภาคปฏิบัติได้ดำเนินการจริงจังตามที่ภาคนโยบายกำหนดหรือไม่ อย่างไร หากดำเนินการแล้วไม่บรรลุเป้าหมาย มีการแก้ไขข้อบกพร่องอย่างไร
3. ความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินการตามแผนของภาคปฏิบัติ หรือภาคปฏิบัติไม่ยอมรับข้อมูลจากภาคนโยบาย ในการเข้ารับการสัมมนา หรือการฝึกอบรม
4. ปัญหาด้านประชาสัมพันธ์ และการแพร่นวัตกรรมของภาคนโยบาย
เหล่านี้คือปัญหาสำคัญสำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งจำเป็นจะต้องดำเนินเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวก่อน ดังนั้นหากจะตอบว่าขึ้นอยู่กับการนโยบาย โดยฝ่ายบริหารคงไม่ใช่คำตอบในเวลานี้ เนื่องจากการออกแบบระบบการจัดการศึกษา และวางนโยบายของภาคบริหารมีเป็นการวางแผนเพื่อยกระดับการศึกษาไทยมาตลอด

ประเด็นสุดท้าย การจะเริ่มต้น พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยครู ซึ่งถือว่าเป็นเสาหลักของการเรียนรู้ของนักเรียนไทย โดยภารกิจของครูคือผู้ปฏิบัติหน้าสอน เป็นผู้รับนโยบายจากภาคบริหารมาปฏิบัติโดยตรง ข้าพเจ้าได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับครูในการพัฒนาการศึกษาดังนี้
1. ครูไทยมีอายุมากขึ้น อ่อนกำลังลง และมีกำลังมาเสริมน้อยมาก
2. ระบบการผลิตครูที่ผ่านมาได้ผลิตเกินและผลิตอย่างไม่มีคุณภาพ
3. การผลิตครูที่มีความรู้เฉพาะด้านอย่างแท้จริงลดน้อยลง
4. ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูกับสังคมไทยยุคปัจจุบัน ครูสมัยใหม่ต้องสอนในสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อน
5. การทุ่มเทให้กับการปฏิบัติหน้าที่สอนของครูไม่เท่าที่ควร เนื่องจากครูมีภาระงานอื่นที่ต้องรับผิดชอบในโรงเรียน
6. การพัฒนาครูสำหรับอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
7. การประกันคุณภาพการศึกษา
8. การวัดและประเมินผล
หากวิเคราะห์ปัญหาที่ หรือแรงเสียดทานที่จะพัฒนาการศึกษาโดยครูนั้น พบว่าปัญหาส่วนใหญ่สามารถแก้ไขได้ ในเวลาอันสั้นโดยตัวครูเอง เช่น ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูกับสังคมไทยยุคปัจจุบัน ครูสมัยใหม่ต้องสอนในสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ครูก็สามารถพัฒนาตนเอง พัฒนาการสอนได้โดยไม่ยาก หากเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยส่วนอื่นก็สามารถแก้ไขได้ไม่ยากเช่นกัน เช่น ปัญหาการผลิตครูที่มีความรู้เฉพาะด้านอย่างแท้จริงลดน้อยลง ภาครัฐอาจเปิดโอกาสให้บุคลากรผู้ความรู้เฉพาะด้านได้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ครู ทั้งนี้จำเป็นจะต้องจัดฝึกอบรมวิชาชีพครู และจิตวิทยาการศึกษา เป็นต้น
จากเหตุผลข้างต้น ในสภาพสังคมไทยยุคปัจจุบัน การพัฒนาคุณภาพการศึกษาควรเริ่มต้นที่ครู ขณะเดียวกันกลุ่มผู้บริหาร และครอบครัว ยังคงมีความสำคัญต่อระบบการจัดการศึกษาไทย หากแต่ควรเป็นการสนับสนุนภารกิจของครู เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยให้ทัดเทียมอารยะประเทศ

ปฏิรูปการศึกษา ต้องพัฒนาครูไทย โดยประกอบ คุปรัตน์
นายกรัฐมนตรีไทยต้องการการศึกษาไทยให้ก้าวไกลทันโลก นักวิชาการด้านศึกษาศาสตร์ไทยต้องการให้การเรียนการสอนทันสมัย เรียนรู้แบบเสวงหา และมีการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พ่อแม่ผู้ปกครองต้องการโรงเรียนที่ดีใกล้บ้าน ไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือเสียค่าใช้จ่ายที่คุ้มแก่การลงทุน ด้วยความคาดหวังดังกล่าวจึงได้มีการปฏิรูปการศึกษา และได้เริ่มมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2542 และมีผลให้เกิดการปรับโครงสร้างเพื่อกระจายอำนาจ มีเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นรองรับงาน 175 แห่งทั่วประเทศ และให้โรงเรียนมีความเป็นนิติบุคคล แต่กระนั้นก็ดูเหมือนการศึกษาไทยยังไม่ได้เปลี่ยนไปได้ตามฝัน
ทำไมการศึกษาไทยจึงยังไม่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างที่คาดหวัง มีการเปลี่ยนรัฐบาลไปหลายครั้ง เปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการไปแล้วหลายคน แต่กระนั้นระบบการศึกษาไทยก็ยังไม่ได้เปลี่ยนไปดังเจตนาแห่งการปฏิรูป ที่เป็นไปเช่นนั้น เพราะส่วนหนึ่งเรายังไม่สามารถปรับเปลี่ยนครูซึ่งมีอยู่กว่า 600,000 คนทั่วประเทศมากนัก
ครูไทยคือใคร ครูไทยคือ คือคนระดับกลาง และระดับกลางส่วนล่างทางเศรษฐกิจและสังคม พูดง่ายๆ คือเป็นลูกชาวบ้านชาวชนบททั่วๆไป มีสัดส่วนของความเป็นสตรีสูง บางโรงเรียนอาจมีสตรีมากถึงร้อยละ 90 มีเป็นอันมากที่อยู่ในวัยกลางคนและไล่ไปจนถึงวัยเตรียมเกษียณ ครูไทยมีอายุมากขึ้น อ่อนกำลังลง และมีกำลังมาเสริมน้อยมาก ไม่มีช่องทางสำหรับคนรุ่นใหม่ที่มีกำลังและความตั้งใจเข้าสู่ระบบมากนัก ระบบการผลิตครูที่ผ่านมาได้ผลิตเกินและผลิตอย่างไม่มีคุณภาพ จนในปัจจุบันสถาบันผลิตครูทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และการศึกษาในมหาวิทยาลัย ต่างต้องลดกำลังผลิตลง ลดการลงทุน และเป็นผลให้ต้องลดคุณภาพไปด้วย จะสังเกตได้ว่ากิจกรรมบางอย่างที่มีความสำคัญมาก คือการให้นิสิตนักศึกษาครูได้ไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามโรงเรียนต่างๆ นั้น ปัจจุบัน ส่งไปเฉพาะที่ใกล้มหาวิทยาลัย ส่งไปแล้วไม่มีครูตามไปนิเทศงาน หรือไปก็ลดความสำคัญ เยาวชนรุ่นใหม่ในต่างจังหวัดที่เคยนิยมเรียนครู เพราะมีทุนการศึกษาให้ ปัจจุบันก็ไม่นิยมเรียน เพราะเรียนแล้วไม่มีงานทำ ทำแล้วก็มีรายได้เยี่ยงราชการทีค่อนข้างต่ำ หรือไม่ก็เป็นอัตราจ้างที่ไม่มีการขึ้นเงินเดือน ไม่มีอนาคต เป็นงานไม่น่าสนใจ ไม่ดึงดูด
ครูเป็นหัวใจของการพัฒนาการศึกษา ในยุคใหม่ เรามีคอมพิวเตอร์ มีอินเตอร์เน็ต และสื่อการสอนใหม่ๆ มากมายที่ช่วยครูทำงานได้ดีกว่าเดิมมาก เด็กๆ และเยาวชนก็มีช่องทางการเรียนรู้ที่กว้างขวางและเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากขึ้น แต่กระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าสื่อจะมาทดแทนครูได้ ครูยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อระบบการศึกษา ครูยุคใหม่นอกจากต้องมีความรู้ในด้านเนื้อหาเป็นอย่างดีแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการใช้สื่อการสอนแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูต้องมีวิธีการสอนที่เปลี่ยนไป กลายเป็นผู้ชี้แนะการเรียน มากกว่าผู้บรรยาย ยืนหน้าชั้นแล้วสอนอย่างที่ผ่านมา โลกยุคใหม่ต้องการการเรียนที่นักเรียนต้องมีขีดความสามารถที่จะแสวงหาความรู้ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลความรู้ด้วยความเป็นเหตุเป็นผล เด็กในยุคใหม่ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากครูที่เป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาไม่ได้พัฒนาตนเองและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทัศนคติในการสอนและการทำงานใหม่
ในทศวรรษใหม่นี้ ถ้าเราจะเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา เราต้องหันมาปฏิรูปการฝึกหัดครูเสียใหม่ จะต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญทั้งกระบวนการ ทำอย่างไรจึงจะสรรหาและดึงดูดคนดีคนเก่งมาสู่ระบบการศึกษา ทำอย่างไรจึงจะมีกลไกพัฒนาครูประจำการ ให้ต้องตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลง พัฒนาขีดความสามารถและเทคนิควิธีการสอนอย่างกระตือรือร้น ทำอย่างไรระบบค่าตอบแทนครู เงินเดือน ค่าจ้าง และอื่นๆ จะเป็นแรงจูงใจในการทำงาน สร้างคนดีคนเก่งและเก็บไว้ในระบบ และขณะเดียวกันก็มีกระบวนการปล่อยถ่ายครูหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสมกับงานออกจากระบบ แทนที่จะต้องเก็บคนไม่มีประสิทธิภาพไว้เป็นจำนวนมากๆ
ครูดีๆ ในสังคมไทยยังมีอยู่มาก มีครูจำนวนไม่น้อยที่พร้อมให้สิ่งดีๆ ต่อการศึกษาของชาติอย่างหมดใจและทั้งชีวิต การจะเปลี่ยนแปลงครูได้ต้องใช้กระบวนการที่ตั้งบนพื้นฐานแห่งความเข้าใจ ใช้สิ่งดีๆ ที่มีอยู่ รู้จักแยกแยะ ทำด้วยความมีเมตตา มีความเป็นธรรม และการดึงสังคม ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบการศึกษาต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาครู
ในสังคมยุคใหม่ ครอบครัวทั่วไป ชนชั้นกลางมีวันเด็กไม่ใช่เพียงวันเดียว แต่เราให้วันเด็กแก่ลูกหลานของเราทุกวัน เช่นเดียวกัน สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป หากเรารักลูก เราก็ต้องรักครูที่สอนลูกหลานของเรา ครูต้องการวันครูในทุกวันของปี ครูต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีเพียงพอ อยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ครูต้องการสังคมที่เห็นความสำคัญแห่งวิชาชีพ ต้องการเห็นการส่งเสริมคนในวิชาชีพ และมีกระบวนการพัฒนาอาชีพนี้อย่างเข้าใจ มีความเป็นธรรม เป็นระบบ แม้ใช้เวลา และทำแล้วสร้างสรรค์และพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
จากการประกันคุณภาพกับครูไทย ของ เพ็ญระพี แก้วบุดดี
ปัจจุบันในแวดวงการศึกษา กำลังมีการตื่นตัวอย่างขนานใหญ่ กับการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งการปฏิรูปการศึกษาแนวใหม่นี้อาจจะเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าการศึกษาของไทยอย่างขนานใหญ่ในอนาคต องค์การที่รับผิดชอบหลักในการดูแลและควบคุมการจัดการศึกษาจะมีอยู่เพียงหน่วยงานเดียวคือ กระทรวงศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมพร้อมทั้งจะมีการกระจายอำนาจในการจัดการศึกษาไปสู่ท้องถิ่น มหาวิทยาลัยต่างๆ จะออกนอกระบบราชการไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารทรัพยากรและบริหารหลักสูตร ให้สามารถพัฒนาองค์การทางการศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ ในทางวิชาการ แต่ขณะเดียวกันสถานศึกษาต่างๆ เหล่านี้ ก็จะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณภาพอย่างเข้มข้นขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
ภายในหน่วยงานของครู มีสถาบันการศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก ที่จัดการศึกษาเฉพาะด้าน การจัดการศึกษาเฉพาะด้านดังกล่าวคงจะหลีกเลี่ยงกระแสของการเปลี่ยนแปลงอันนี้ไปได้ยาก เพราะในมาตรา 21 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ระบุว่าหน่วยงานที่จัดการศึกษาอื่นๆ ของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะตามความต้องการ และความชำนาญของหน่วยงานนั้นได้ โดยคำนึงถึงนโยบาย และมาตรฐานการศึกษาของเขาด้วย ต่อไปถ้ามีการจัดอันดับสถาบัน หรือมาตรฐานการผลิตวิศวกร แพทย์ และพยาบาลแล้ว อาจมีคำถามตามมาว่า วิศวกร แพทย์ และพยาบาลที่ผลิตโดยสถาบันการศึกษาของไทย มีมาตรฐานมากน้อยแค่ไหน สถาบันเหล่านี้ ถ้าจัดอันดับแล้ว มีมาตรฐานอยู่ในลำดับที่เท่าใด ของประเทศ นอกจากนี้โรงเรียนต่างๆ ของไทย ที่จัดการศึกษาตามแนวทางราชการนั้น มีมาตรฐานเพียงใด คำถามที่บุคคลทั่วไปถามอยู่บ่อยๆ ก็คือ สถาบันการศึกษาของไทยต่างๆ มักเรียนแล้วไม่มีตก ต้องจบเสมอ ถ้ามาเรียนทุกวัน เรียนเท่าใดก็จบเท่านั้น และที่จบไปนั้นมีคุณภาพเพียงใด (พ.อ.พร ภิเศก การประกันคุณภาพกับการศึกษา หน้า 38 )
จากแนวคิด ในการประกันคุณภาพการศึกษาดังกล่าว โรงเรียนได้ตระหนักถึงมาตรฐานของตนและเริ่มใช้ระบบประกันคุณภาพ เพื่อแสดงให้ประจักษ์ว่าสถาบันศึกษานั้นๆ ได้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นประโยชน์ต่อสังคมอยู่ในลำดับที่ดี และมีคุณภาพมากขึ้นต่อไป
กรอบแนวคิด ระบบประกันคุณภาพการศึกษาจะเห็นได้ว่า จะระบบหน่วยย่อยต่างๆ ที่ควบคุมคุณภาพอยู่หลายระบบ แต่ทว่า จะสำเร็จจริงหรือ.....เมื่อครูเรายังติดยึดอยู่กับระบบเดิมๆ ไม่คิดจะพัฒนาตนเองเพียงสนใจแค่ ค่าของคนอยู่ที่เป็นคนของใคร จะมีวันใดบ้างที่ครู.....จะต้องเป็นครูทุกขณะจิต ต้องรู้โลก รู้ชีวิตอย่างแจ่มแจ้ง ต้องมีปฏิญาณโวหารแสดง ต้องเป็นแหล่งก้าวหน้าวิชาการ ต้องสอนคนมากกว่าสอนหนังสือ (เนาวรัตน์ พงศ์ไพบูลย์)
การปฏิรูปการศึกษา เพื่อประกันคุณภาพจะดีเพียงใดก็ตามจะเป็นเสมือนกระดาษที่เขียนโครงการที่สวยหรู แต่เราเป็นครูต้องสมัครใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ออกจากระบบอุปถัมภ์ เพื่อเราจะได้อธิบายแก่ผู้เสียภาษี ให้พึงพอใจว่า เราทำงานได้คุ้มกับงบประมาณที่รัฐได้จ่าย เกิดประสิทธิภาพและประเมินผลต่อการศึกษาหรือต่อ ผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง

จากภูมิปัญญาครูไทยสู่การพัฒนาครู โดยนฤมล บุลนิ่ม.
การวิจัยเรื่องภูมิปัญญาครูไทยห้าแผ่นดินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภูมิปัญญาครูไทย
ในกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในอดีตจนถึงปัจจุบันโปรแกรมวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพหลายรูปแบบ โดยการวิเคราะห์สาระและกระบวนการพัฒนาภูมิปัญญาของครูไทยตลอดจนกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาของครูไทย แล้วนำเสนอภายใต้บริบทของสังคมไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน การวิจัยประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์ และการศึกษาภาคสนามเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกครูที่ได้รับการยกย่องเป็นครูแห่งชาติ การสังเกตการสอน การสัมภาษณ์เพื่อนครู ผู้บริหาร การสัมภาษณ์กลุ่มผู้เรียน และการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อการวิเคราะห์ สังเคราะห์และบูรณาการผลการวิจัย และเสนอแนวคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญาครูไทย
ผลการวิจัยพบว่าครูไทยทั้งในอดีตและปัจจุบันได้สั่งสมความเป็นครูมาตั้งแต่วัยเด็กได้ถูก
หล่อหลอมจาก ครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อมจนมีภูมิแห่งครูที่เป็นพื้นฐานไปสู่การเป็นครูดี ภูมิแห่งครูจากการศึกษาวิจัย ได้แก่
1) การนำวิชาหนังสือกับวิชาชีวิตมาสอนรวมกันได้เป็นการสอนวิชาการและสอนมนุษย์
2) ครูแต่ละคนนำนิสัยที่ดีของตัวมาใส่ในตัวนักเรียน
3) นักเรียนหนึ่งคนได้รับการหล่อหลอม
บุคลิกภาพจากครูหลายคน
4) ครูดีต้องเก่งและมีปัญญา
5) ครูดีท่านยอมรับการเรียนรู้ร่วมกัน
6) ครูคือผู้ให้สิ่งที่ดีๆ
7) ครูดีต้องสอนคนให้คิดดังๆ ได้
8) ครูสมัยก่อนมีแล้วค่อยสอน แต่สมัยนี้ไม่มีก็ต้องสอน
9) ครูต้องมองในสายตาเด็กและปฏิบัติในสายตาเด็ก
10) ครูดีต้องเมตตาและเข้าใจผู้อื่น
11) ครูดีต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและมีความสามารถทำให้คนอื่นเป็นคนดีได้
12) ครูสมัยก่อนไม่ต้องเรียนมากเพราะถูกหล่อหลอมขึ้นมาเอง
13) ครูดีไม่ใช้การถ่ายทอดแต่เพียงอย่างเดียว
14) ครูดี ครูที่เยี่ยมยอดคือครูที่ปฏิบัติได้แล้ว ปฏิบัติจนเป็นนิสัย เป็นบุคลิกภาพแล้วจึงมถ่ายทอด 15) ครูดีต้องมีความรู้ รู้หลักการ
ความหมาย และวิธีการเข้าถึง
ภูมิปัญญาครูไทยที่ได้นี้จะต้องผ่านกระบวนการหล่อหลอมจากครอบครัวในวัยเด็ก ผ่าน
ครูที่เป็นตัวแบบที่ดี ผ่านกระบวนการคิดตัดสินใจของคนที่มีจิตสำนึกในความเป็นครูที่กอปรด้วยความรับผิดชอบและเห็นความสำคัญของอาชีพครู ภูมิปัญญาครูไทยที่ผ่านกระบวนการหล่อหลอมนี้ผู้วิจัยขอใช้คำว่า “ภูมิแห่งครูไทย” ซึ่งที่ผ่านมาไม่ใคร่มีใครให้ความสำคัญ ผลการศึกษาวิจัยที่ได้เป็นเครื่องยืนยันเป็นอย่างดีว่าครูไทยจะต้องมีภูมิแห่งครู ซึ่งเป็นเสมือนภูมิคุ้มกันให้เขาเป็นครูที่ดี ปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลต่อภูมิปัญญาของครูทั้งในอดีตและปัจจุบันก็คือบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ครูในอดีตเป็นครูที่มีความรู้ แล้วจึงค่อยมาสอน ครูจะเป็นเหมือนตักศิลา ครูจะเป็นผู้กำหนดหลักสูตรเองในการสอนก็สอนวิชาหนังสือเป็นหลัก ส่วนวิชาชีวิตก็เปิดโอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติจริง ดังนั้นครูสมัยก่อนจึงใช้วิธีการถ่ายทอดเป็นหลัก ซึ่งพอเพียงสำหรับการสร้างความรู้ และการสร้างกระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็กในยุคนั้น ที่ความรู้ในช่วงนั้นเปลี่ยนแปลงไม่มากนักแต่ครูในยุคปัจจุบัน แม้ไม่มีความรู้หรือรู้ไม่พอแต่ครูก็ต้องสอน เพราะหลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นหลักสูตรที่ผู้อื่นกำหนดมาให้สอน ดังนั้น ครูปัจจุบันก็จำเป็นต้องสอนทั้งๆ ที่ไม่รู้ในบริบทของสังคมปัจจุบัน ความรู้ต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากจนครูไม่สามารถที่จะตามความรู้ได้ทัน ไม่สามารถที่จะรู้เนื้อหาทุกเรื่องได้ทั้งหมด ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบันจะต้องเปลี่ยนแปลงไปครูจะใช้การถ่ายทอดแบบเดิมจะไม่เพียงพอ ครูต้องสอนวิธีการเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ วิธีการเข้าถึงความรู้ให้กับเด็กหรืออาจใช้วิธีการพาเรียนหรือกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน จึงจะสามารถทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นภูมิแห่งครูไทยที่ผ่านกระบวนการหล่อหลอมมาอย่างดีนี้จะเป็นพื้นฐาน เป็นภูมิแห่งครูที่ทำให้ครูเป็นครูที่ดีได้ตามที่คาดหวังไว้เป็นครูที่สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ แนวคิดวิธีการในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ได้สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการพัฒนาครูในอนาคตต้องให้ความสำคัญกับภูมิแห่งครูไทยนี้ เพื่อที่จะไปเป็น
กรอบแนวคิดในการพัฒนาครูสำหรับอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นับตั้งแต่การคัดเลือกคนเข้ามาเป็นครู ว่าต้องพิจารณาองค์ประกอบใดบ้าง กระบวนการผลิตครูที่คาดหวังกันว่าการใช้เวลา 5 ปี จะเป็นยาหม้อใหญ่ในการแก้ปัญหาการผลิตครูให้เป็นครูดีได้จะเป็นจริงหรือไม่ ตลอดจนกระบวนการพัฒนาที่เน้นแต่เรื่องการอบรมความรู้ โดยใช้การฟังบรรยายเป็นหลักควรได้เปลี่ยนรูปแบบไป
แนวทางการพัฒนาครูสำหรับอนาคต
จากการเปรียบเทียบระหว่างครูในอดีตกับครูปัจจุบัน พบข้อแตกต่างอย่างชัดเจนว่า ครู
ในอดีตสอนสิ่งที่ตัวเองรู้แล้ว สิ่งที่ตัวเองมีแล้ว แต่ครูสมัยใหม่ต้องสอนในสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อน
เพราะฉะนั้นการเตรียมครูจะต้องคำนึงถึงเงื่อนไขที่ว่า ครูต้องสอนสิ่งที่เคยรู้เคยเรียนมาก่อน ดังนั้นเพื่อที่จะให้ครูได้ปรับเปลี่ยนบทบาทให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การเตรียมครูในอนาคตต้องเน้นหนักในเรื่องการเข้าสู่ความรู้ การคำนึงถึงผู้เรียน และเจตจำนงที่จะส่งผ่านแต่สิ่งที่ดีให้กับผู้เรียนการฝึกให้ครูดีจะต้องเป็นการบูรณาการวิชาการและวิชาชีวิต
______________________________________________________________________________
กระทรวงมหาดไทย. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554)
วันที่ค้นข้อมูล 22 มิถุนายน 2553, เข้าถึงได้จาก
http://www.moi.go.th/portal/page?_pageid=33,224307,33_224312&_
dad=portal&_schema=PORTAL
นฤมล บุลนิ่ม. (2545) จากภูมิปัญญาครูไทยสู่การพัฒนาครู. วารสารวิทยาจารย์,
100(12), ประกอบ คุปรัตน์. (2548). ปฏิรูปการศึกษา ต้องพัฒนาครูไทย.
วันที่ค้นข้อมูล 13 มิถุนายน 2553, เข้าถึงได้จาก
http://www.itie.org/eqi/modules.php?name=Journal&file=display&jid=22
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116,
หน้า 3.
เพ็ญระพี แก้วบุดดี. (2552). การประกันคุณภาพกับครูไทย . วันที่ค้นข้อมูล
13 มิถุนายน 2553, เข้าถึงได้จาก http://penrapeekaewbuddee.blogspot.com/